ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงงานหุ่นยนต์ โปรเจคหุ่นยนต์ Arduino


โครงงานหุ่นยนต์ โปรเจคหุ่นยนต์ Arduino


เชื่อว่าหุ่นยนต์เป็นของโปรดของคนไทยจำนวนไม่น้อย และมีคนไทยจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ใฝ่ฝันจะเป็น "ผู้สร้าง"หุ่นยนต์ด้วยตัวของเขาเอง แต่การสร้างหุ่นยนต์นั้นถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งสำหรับคนไทยเพราะบ้านเราไม่มีสิ่งที่เอื้อต่อการเป็นนักประดิษฐ์เลย แต่เมื่อประตูโลก อินเตอร์เน็ต ได้เปิดกว้างขึ้นทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเริ่มมองเห็นโอกาสที่เขาจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเป็นผู้สร้างหุ่นยนต์ และปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเป็น "ผู้สร้าง"หุ่นยนต์

การเรียนรู้  Arduino นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะได้ความในเรื่องของการ ต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาซี  การสร้างแอพแอนดรอยด์ และ เรียนรู้ การประกอบหุ่นยนต์

นอกจากนี้ ในอนาคต ยังสามารถพัฒนา คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ พัฒนาหุ่นยนต์ใหม่ๆ หรือ ต่อยอดกับการเรียนรู้หุ่นยนต์ และ คอนโทรลเลอร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แบบอื่นๆต่อไป ได้อีกด้วย
ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ชิปไอซีพิเศษชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถเขียนโปรแกรม เพื่อควบคุมการทำงานตามที่ต้องการได้ ภายในไมโครคอนโทรลเลอร์จะประกอบไปด้วย  หน่วยประมวลผล  , หน่วยความจำชั่วคราว (RAM) , หน่วยความจำถาวร (ROM) , พอร์ตอินพุต , เอาท์พุต

บอร์ด Arduino (ขออ่านว่า อาดูโน่) ก็เป็น ไมโครคอนโทรลเลอร์  เช่นกัน มีหลายรุ่นหลายขนาด ยกตัวอย่าง เช่น UNO, Leonardo, Micro, Pro Mini, BT, Mega2560 , Nano เป็นต้น ซึ่งแต่ละรุ่น จะมี Spec ที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่ ขนาด, ความจุ, ความเร็ว, จำนวนขา I/O ผู้เล่นสามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานของตัวเองได้ รุ่นที่เห็นว่าได้รับความนิยมในเมืองไทยมากๆ ก็คงจะเป็นรุ่น UNO ซึ่งปัจจุบัน ก็เป็น Arduino UNO R3 แล้ว (R3 หมายถึง เวอร์ชั่นที่ 3)


การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูง และภาษาโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมหรือ ที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์ นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความเร็ว ในการทำงานสูงใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มีโครงสร้างที่ชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถเขียนโปรแกรม เพื่อติดต่อกับฮาร์ดแวร์ ของเครื่องได้ เช่น คอนโทรลเลอร์ ของ Arduino และ อีกหลายๆบริษัท ที่ภาษาโปรแกรมระดับสูงหลายๆภาษาไม่สามารถทำได้ และ ยังเป็นพื้นฐานที่ดี ในการศึกษา ภาษาโปรแกรม ภาษาอื่นๆ ต่อไป


แอพแอนดรอยด์  เขียนด้วย App inventor เพื่อควบคุม บอร์ด Arduino ผ่าน สมาร์ทโฟน มีลักษณะการเขียนโปรแกรมเป็นแบบ Visual Programming  คือ เขียนโปรแกรมด้วยการต่อบล็อกคำสั่งเหมือนการต่อ LEGO สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว โดยโปรแกรมนี้จะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถสร้าง แอพแอนดรอยด์ต่างๆได้อย่าง ง่ายดาย  และ รวดเร็ว และยังช่วยให้เรามีความเข้าใจ โครงสร้างของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ได้เป็นอย่างดี


การเรียนรู้ การสร้างหุ่นยนต์ จะเรียนรู้ผ่านทางการทำโปรเจคต่างๆ เพื่อให้มีผลลัพธ์ และ สนุกกับการเรียนรู้  สามารถนำการเรียนรู้ไปใช้งานได้จริง คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้ โดยผู้เรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านใดมาก่อน ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้กับ บล็อก แห่งนี้ได้ มาเริ่มเรียนรู้ไปพร้อมกันเลยนะครับ

โรบอทสยาม โครงงานหุ่นยนต์



วีดีโอ โปรเจคการเรียนรู้การสร้างหุ่นยนต์ ของ RobotSiam

  • โครงงาน รถบังคับ ขับเคลื่อน 2 ล้อ Arduino กับ แอพแอนดรอยด์


  • โครงงานหุ่นยนต์ หลบสิ่งกีดขวาง Arduino เวอร์ชั่น 1


  • โครงงานหุ่นยนต์ หลบสิ่งกีดขวาง Arduino เวอร์ชั่น 2


  • โครงงานหุ่นยนต์ หลบสิ่งกีดขวาง Arduino เวอร์ชั่น ประหยัด



  • โครงงานหุ่นยนต์ เดินตามเส้น Arduino เวอร์ชั่น 1



  • โครงงานหุ่นยนต์ ฮิวแมนนอยด์ Arduino 8 DOF เพื่อการศึกษา


  • โครงงานหุ่นยนต์ ฮิวแมนนอยด์ Arduino 12 DOF เพื่อการศึกษา



.........................................................
การสร้างหุ่นยนต์อย่างง่าย by อาดูโน่ สอนทําหุ่นยนต์ วิธีสร้างหุ่นยนต์ รถบังคับ Arduino หุ่นยนต์หลบสิ่งกีดขวาง Arduino โค้ดหุ่นยนต์เดินตามเส้น Arduino โปรเจค arduino ง่ายๆ มินิโปรเจค arduino โปรเจค arduino uno r3 โปรเจคที่ใช้ arduino เรียนรู้การเขียนโปรแกรม ภาษาซี ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาซี สอนเขียน แอพแอนดรอยด์ เขียน App Android ง่ายๆ การเขียนโปรแกรม app inventor การใช้งาน app inventor โครงงานหุ่นยนต์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ O

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: } void loop() {   // put your main

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แล้ว คลิก