ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โปรเจค Arduino ง่ายๆ เปิด ปิดไฟด้วยเสียง



เปิดปิดไฟด้วยเสียง


เรียนรู้วิธีควบคุม Arduino  ด้วย เซ็นเซอร์เสียง LM393 เราจะควบคุม การ ปิด เปิด ไฟ LED ด้วยเสียงตบมือ โดยเราจะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับเสียง LM393 +  รีเลย์ และแสดงผลด้วยไฟ LED



อุปกรณ์ที่ใช้



1. Arduino UNO R3 - Made in italy

2. Sound Detection Sensor Module LM393

3. สาย Jumper Female to Male ยาว 20cm.

4. สาย Jumper Male to Male ยาว 20cm.

5. Prototype PCB Board 4x6 cm Double Sides

6. สกรูหัวกลม+น็อตตัวเมีย ขนาด 3มม ยาว 12มม

7. Relay 1 Channel DC 5V Module

8. SMD LED Lighting G4 AC DC 12V

9. รางถ่าน AA 8 ก้อน



การต่อวงจร ระหว่าง  เซ็นเซอร์เสียง LM393  กับ Arduino UNO




LM393 <--> UNO

+5V  <--> 5V

GND <--> GND
OUT <--> D4



การต่อวงจร ระหว่าง Relay กับ Arduino UNO





Relay
 <--> UNO

5V <--> 5V
GND <--> GND
IN <--> D5



การต่อวงจร ระหว่าง UNO+ Relay + LED + รางถ่าน


*** การต่อ LED กับ PCB Board ด้านล่างต้องใช้ ตะกั่วบัดกรี Jumper กับ ขา LED ให้เชื่อมต่อกัน ทั้ง 2 ขา ***

*** LED เป็น LED แบบไม่มีขั้ว ต่อเข้าด้านไหนก็ทำงานได้เช่นกัน ***




หมายเหตุ : ที่ 5V ของ Arduino มี 2 สาย จาก เซ็นเซอร์เสียง และ Relay ที่ใช้ร่วม 5V จุดเดียวกัน ให้ เชื่อมต่อ 2 เส้น รวมกันก่อน ให้เหลือ 1 เส้น แล้วจึงเสียบเข้าไปที่ 5V 



บล็อกไดอะแกรม





อธิบายโค้ด



int sound_sensor = 4;  // ประกาศให้พินดิจิตอล 4 เป็นตัวแปรชื่อ sound_sensor มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม 

int relay = 5;   // ประกาศให้พินดิจิตอล 5 เป็นตัวแปรชื่อ relay มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม                               

int clap = 0;  // ประกาศตัวแปรชื่อ clap มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0

long detection_range_start = 0;  // ประกาศตัวแปรชื่อ detection_range_start มีชนิดของข้อมูลคือ long คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0

long detection_range = 0;   // ประกาศตัวแปรชื่อ long detection_range มีชนิดของข้อมูลคือ long คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0

boolean status_lights = false;   // ประกาศตัวแปรชื่อ status_lights มีชนิดของข้อมูลคือ boolean คือ มีค่าได้เพียงสองค่าคือ จริง-true และ เท็จ-false โดยให้มีค่าเริ่มต้น เป็น เท็จ-false 

void setup() { // ฟังก์ชัน setup จะทำงานครั้งแรก เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

pinMode(sound_sensor, INPUT);   //  ให้ พินดิจิตอล 4 ตัวแปร sound_sensor เป็นพินโหมด แบบอินพุท เพื่อรับค่า จากเซ็นเซอร์เสียง

pinMode(relay, OUTPUT);   //  ให้ พินดิจิตอล 5  ตัวแปร relay เป็นพินโหมด แบบเอาท์พุทเพื่อส่งค่าการทำงานให้กับ รีเลย์

}  // สิ้นสุดการทำงานของฟังก์ชัน setup



void loop() {   // ฟังก์ชัน loop จะทำงานซ้ำ วนลูป ไปเรื่อยๆ

int status_sensor = digitalRead(sound_sensor);  // ประกาศตัวแปร status_sensor และรับค่าจาก พินดิจิตอล 4 ตัวแปร sound_sensor

  if (status_sensor == 0)   // ถ้า status_sensor เท่ากับ 0 

  {
     
    if (clap == 0)   // ถ้า clap เท่ากับ 0

     {

       detection_range_start = detection_range = millis();   // ให้ตัวแปร detection_range_start และ detection_range มีค่าเท่ากับ millis หรือ milliseconds คือการจับเวลาของ Arduino ทันทีที่มีไฟเลี้ยงเข้า

      clap++;   // ให้ clap มีค่าอยู่เท่าไรให้บวกหนึ่ง

    }
   
     
else if (clap > 0 && millis()-detection_range >= 50) // ถ้า clap มากกว่า 0 และ millis ลบกับ detection_range มากกว่าหรือเท่ากับ 50

     {
     
       
detection_range = millis();   // ให้ detection_range เท่ากับ millis

       clap++;   // ให้ clap มีค่าอยู่เท่าไรให้บวกหนึ่ง

    } 

   }

   if (millis()-detection_range_start >= 400)  // ถ้า millis ลบกับ detection_range_start มากกว่าหรือเท่ากับ 400

   {

     if (clap == 2)  // ถ้า clap เท่ากับ 2

     {

       if (!status_lights)   // ถ้า status_lights เป็นเท็จ

        {
           
           status_lights = true;   // ให้ status_lights เท่ากับ จริง 

           digitalWrite(relay, HIGH);   // ส่งข้อมูล HIGH ไปที่รีเลย์ เพื่อให้ไฟติด

        }
         
          else if (status_lights)   // ถ้า status_lights เป็นจริง

        {
           
           status_lights = false;   // ให้ status_lights เป็นเท็จ

           digitalWrite(relay, LOW);   // ส่งข้อมูล LOW ไปที่รีเลย์  เพื่อให้ไฟดับ

         }
     }

     clap = 0;   // ให้ clap  เท่ากับ 0

   }

 }   // สิ้นสุดการทำงานของฟังก์ชัน loop แล้วเริ่มทำงานฟังก์ชัน loop ใหม่ซ้ำไปเรื่อยๆ



อัพโหลดโค้ด


เปิดโปรแกรม Arduino (IDE) และ Upload โค้ดนี้ ไปยัง บอร์ด Arduino UNO R3




int sound_sensor = 4;
int relay = 5;

int clap = 0;

long detection_range_start = 0;
long detection_range = 0;
boolean status_lights = false;

void setup() {
  pinMode(sound_sensor, INPUT);
  pinMode(relay, OUTPUT);
}

void loop() {
  int status_sensor = digitalRead(sound_sensor);
  if (status_sensor == 0)
  {
    if (clap == 0)
    {
      detection_range_start = detection_range = millis();
      clap++;
    }
    else if (clap > 0 && millis()-detection_range >= 50)
    {
      detection_range = millis();
      clap++;
    }
  }
  if (millis()-detection_range_start >= 400)
  {
    if (clap == 2)
    {
      if (!status_lights)
        {
          status_lights = true;
          digitalWrite(relay, HIGH);
        }
        else if (status_lights)
        {
          status_lights = false;
          digitalWrite(relay, LOW);
        }
    }
    clap = 0;
  }
}


ไปที่ Tools > Board เลือกเป็น Arduino/Genuino UNO






ไปที่ Tools > Port แล้วเลือกพอร์ตที่ปรากฏ (กรณีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี COM Port มากกว่าหนึ่ง  ให้เลือกตัวอื่นที่ไม่ใช่ COM1)

ในตัวอย่างเลือกเป็น "COM3"

(ถ้ายังว่าง หรือ เป็น COM1 ให้ตรวจสอบการติดตั้งไดร์เวอร์ การต่อสาย USB ของ Arduino UNO)



(ถ้าไม่พบให้ทำการติดตั้งไดร์เวอร์ก่อน) 
การติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) และ การติดตั้งไดร์เวอร์




กดปุ่ม 
 เพื่ออัพโหลด



หากสามารถอัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ดได้สำเร็จ จะแสดงคำว่า Done uploading. ที่แถบด้านล่าง







การปรับค่า Sound Detection Sensor Module LM393

ให้เอาไขควงหมุน ปรับค่าการรับสัญญาณเสียง ที่ เซ็นเซอร์เสียง LM393 โดยให้หมุนตัว R ปรับค่าได้ แบบ trimpot สีฟ้า โดย เมื่อ ตบมือ 2 ครั้ง ให้ ไฟ LED สีแดง ที่ รีเลย์ ติด และ เมื่อ ตบมืออีก 2 ครั้ง ให้ ไฟ LED สีแดง ที่ รีเลย์ ดับ






ทดสอบการทำงาน โดย  เมื่อไฟติดอยู่ ตบมือ 2 ครั้ง ไฟจะดับ และ เมื่อ ตบมืออีก 2 ครั้ง  ไฟจะติด



วีดีโอผลลัพธ์การทำงานของ โปรเจค Arduino ง่ายๆ เปิด ปิด ไฟด้วยเสียง






โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจั...

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: }...

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แ...