ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน ESP8266 ESP-01 Wireless WIFI Module


การใช้งาน ESP8266 ESP-01 นั้น ตามสเปคต้องการใช้ไฟเลี้ยง 3.3V ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย ของ ESP8266 ESP-01 เราจึงต้องหาแหล่งจ่ายไฟ 3.3V คือ ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117

ต่อวงจร ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117 ตามรูป












โดยเชื่อมต่อจาก VCC (5V) ของ Arduino UNO ทำการลดแรงดันไฟให้เหลือ 3.3V โดยใช้ ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117  แล้วจึงต่อเข้ากับ VCC และ PH_PD ของ ESP8266 ESP-01 ดังรูป





การต่อวงจร ระหว่าง ESP8266 ESP-01 กับ Arduino UNO
  • ESP-01 <--> UNO
  • VCC <--> 3.3V
  • GND<--> GND
  • CH_PD<--> 3.3V
  • TX <--> TX (ขา 1)
  • RX <--> RX(ขา 0)


อุปกรณ์ที่ใช้


1. Arduino UNO R3 - Made in italy

2. ESP8266 ESP-01 Wireless WIFI Module

3. ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117

4. คาปาซิเตอร์ 100 nF

5. คาปาซิเตอร์ 10 uF

6. สาย Jumper Female to Male ยาว 20cm.

7. สาย Jumper Male to Male ยาว 20cm.

8. Prototype PCB Board 4x6 cm Double Sides

9. สกรูหัวกลม+น็อตตัวเมีย ขนาด 3มม ยาว 12มม


การใช้งานเบื้องต้น


อัพโหลดโค้ด  โปรแกรมไฟกระพริบ เข้าไปในบอร์ดด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า ตัวไอซี ไม่ได้ใช้ช่องสัญญาณ Serial port



*** หมายเหตุ : ก่อนการอัพโหลด ให้ถอดการเชื่อมต่อ สาย
TX (ขา 1) และ RX(ขา 0) ออกก่อน 
 ***




โค้ด  โปรแกรมไฟกระพริบ



void setup() {


  // initialize digital pin 13 as an output.

  pinMode(13, OUTPUT);

}

// the loop function runs over and over again forever

void loop() {

  digitalWrite(13, HIGH);   // turn the LED on (HIGH is the voltage level)

  delay(1000);              // wait for a second

  digitalWrite(13, LOW);    // turn the LED off by making the voltage LOW

  delay(1000);              // wait for a second

}


*** แล้วจึงเชื่อมต่อ สาย TX (ขา 1) และ RX(ขา 0) เข้าที่เดิม***





เรียนรู้ชุดคำสั่ง AT


คำสั่ง AT  คือ ชุดคำสั่งมาตรฐาน ที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โมเด็ม หรือ อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เพื่อโต้ตอบตั้งค่าหรือสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้น ให้ทำงานตามที่ต้องการ

เป้าหมายของโค้ดนี้ก็คือการรับคำสั่ง AT จากพอร์ต อนุกรม ของ Arduino เพื่อส่งไปยัง ESP8266 และพิมพ์คำตอบของ ESP8266 ไปยังคำสั่งหรือการกระทำอื่น ๆ (เช่นการรับคำขอ HTTP)


เปิด Serial Monitor ของ Arduino ตั้งค่า baud rate 115200 และปรับช่องในรูปให้เป็น ฺBoth NL&CR





การสื่อสารกับ  ESP8266 ESP-01 และ การตรวจสอบ ไอพี




*** หมายเหตุ : ให้ทำตามลำดับ ***


พิมพ์ AT ตรวจสอบว่าบอร์ดเรายังใช้งานได้อยู่หรือไม่  ถ้ามีคำว่า OK หรือการตอบสนอง แสดงว่าบอร์ดเรายังใช้งานได้อยู่



พิมพ์ AT+GMR เป็นคำสั่งเช็คเวอร์ชัน เมื่อพิมพ์แล้วจะได้ผลลัพธ์ของเวอร์ชัน Firmware



พิมพ์  AT+CWMODE=3   คำสั่งนี้จะเป็นการเลือกหมวดของโมดุล จะสามารทำงานได้ 3 โหมด 1 STA , 2 AP และ 3 AP+STA, ตอนนี้ให้ลองเลือก 3



พิมพ์ AT+RST   // เป็นการ Restart โมดุล  จะ return “ready” กลับมาพร้อมทำงานแล้ว



พิมพ์ AT+CWLAP   // ค้นหา wifi เราเตอร์ ที่เปิดใช้งานอยู่



พิมพ์ AT+CIPMUX=1  // เปิดโหมดการเชื่อมต่อแบบหลายจุด




พิมพ์ AT+CWJAP="truehome2G41f","82ed641f"   //  เชื่อมต่อเข้ากับ เราเตอร์ ต้องมี เครื่องหมาย “‘ ด้วย

ssid = ชื่อ wifi ที่ต้องการเชื่อมต่อ

password =  รหัสผ่าน





พิมพ์ AT+CWJAP?    // เช็คว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่



 พิมพ์  AT+CIFSR // ตรวจสอบไอพี ถ้าพิมพ์ คำสั่งถูก และ เชื่อมต่อเข้ากับ Router ได้อย่างไม่มีปัญหา ตัว Router จะแจกไอพี มาให้เรา ในตัวอย่างคือ 192.168.1.39




ซึ่งเราจะนำ ไอพี ที่เราได้นี้ไปใช้ใน

โปรเจค ESP8266 ESP-01 ปิด เปิด ไฟ LED ด้วย WIFI  ต่อไป



https://robotsiam.blogspot.com/2017/07/esp8266-esp-01-led-wifi.html



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ O

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: } void loop() {   // put your main

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แล้ว คลิก