ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ESP32 #8: หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง ส่งค่าผ่าน Bluetooth



เซ็นเซอร์วัดระยะทาง


สำหรับเซ็นเซอร์วัดระยะทาง สามารถนำไปใช้ในการวัดขนาดสิ่งของ ตรวจจับสิ่งกีดขวางได้ โดยในด้าน Smart Farm มักนำไปใช้วัดระดับน้ำในถังน้ำ หรือนำไปใช้วัดระดับน้ำในบ่อน้ำ เพื่อให้แจ้งเตือน หรือเติมนำอัตโนมัติ สำหรับเซ็นเซอร์วัดระยะห่างจะมีทั้งแบบใช้แสง และใช้คลื่นเสียง

BLE

BLE ย่อมาจาก Bluetooth Low Energy หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่า บลูทูธพลังงานต่ำ ตามหลักแล้วอุปกรณ์ BLE จะใช้พลังงานน้อยมาก ๆ บางอุปกรณ์เครมว่าสามารถอยู่ได้ต่อเนื่องนาน 1 ปี โดยใช้พลังงานจากถ่านกระดุมเพียงก้อนเดียว

หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง ส่งค่าผ่าน Bluetooth 

โดยในโปรเจคนี้เราจะสร้างหุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง ส่งค่าผ่าน Bluetooth โดยให้หุ่นยนต์ตัดสินใจโดยอัตโนมัติ ด้วยการวัดระยะทาง จาก สิ่งกีดขวาง และ เมื่อมีสิ่งกีดขวางอยู่ในระยะที่กำหนดไว้ ในตัวอย่างคือ น้อยกว่า 20 เซ็นติเมตร ให้หุ่นยนต์ ถอยหลัง แล้ว เลี้ยวซ้าย หลบสิ่งกีดขวางนั้นเสมอ โดยในขณะที่ทำงานจะให้ส่งค่าระยะทางที่วัดได้ ส่งค่าผ่านทาง Bluetooth มายัง สมาร์ทโฟน ของเราด้วย


### อุปกรณ์ที่ใช้ ###


1 . 4WD Smart Robot Car Chassis Kits

2. DevKitC V2 ESP32 Development Board

3. Micro USB Cable Wire 1m

4. Breadboard 8.5CM x 5.5CM 400 holes  //  จำนวน 2 ชิ้น

5. Motor Driver Module L298N

6. สกรูหัวกลม+น็อตตัวเมีย ขนาด 3มม ยาว 12มม

7. Jumper 20cm Male to Male

8. Jumper 20cm Female to Male

9. เพาเวอร์สวิตซ์สำหรับเปิดปิด

10. รางถ่าน 18650 แบบ 2 ก้อน

11. ถ่านชาร์จ 18650 Panasonic NCR18650B 3.7v 3400mAh  // จำนวน 2 ก้อน

12. HY-SRF05 SRF05 Ultrasonic Distance Sensor Module

13. Mounting Bracket for HC-SR04 แบบสั้น

...


โดยการทำโปรเจคมีขั้นตอนดังนี้


1.ติดตั้ง Arduino core for ESP32

ลิงค์การติดตั้ง Arduino core for ESP32

https://robotsiam.blogspot.com/2017/09/arduino-core-for-esp32.html


2.ประกอบหุ่นยนต์ DevKitC ESP32



ลิงค์การประกอบหุ่นยนต์ DevKitC ESP32


https://robotsiam.blogspot.com/2017/11/esp32-4.html



3.ทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ 



ลิงค์ทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์


https://robotsiam.blogspot.com/2017/11/esp32-5-gpio-devkitc.html


4.ประกอบเซ็นเซอร์วัดระยะทาง HY-SRF05 

HY-SRF05 SRF05 Ultrasonic Distance Sensor Module โมดูลวัดระยะด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค ใช้การสื่อสารกับไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านการทริกสัญญาณ สามารถวัดระยะห่างได้ตั้งแต่ 2 เซ็นติเมตร ไปจนถึง 4 เมตร ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V การวัดระยะทางโดยใช้ โมดูล Ultrasonic มีความแม่นยำในการวัดระยะทาง การทำงานเป็นแบบคลื่นสะท้อนกลับแล้วนำมาคำนวน จึงเหมาะสำหรับมาใช้ในการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ตรวจจับวัตถุที่อยู่ในรัศมีที่ต้องการ



ประกอบ SRF05 เข้ากับ  Mounting Bracket แล้วยึดเข้ากับหุ่นยนต์ดังรูป




เชื่อมต่อ SRF05 เข้ากับ ESP32


Trig <-> IO15 (ESP32) 

Echo <-> IO2 (ESP32) 
Vcc <->  5V (Motor Driver)
GND <-> GND (ไฟ- ของ Breadboard)


เชื่อมต่อสายจาก SRF05



เข้ากับ ESP32

Trig <-> IO15

Echo <-> IO2




Vcc ไปที่ Motor Driver (ใช้สาย ผู้-เมีย 2 เส้น เชื่อมต่อกัน)

Vcc <->  5V (สายสีแดงเส้นที่ 3 จากซ้ายมือ)



GND <-> GND (ไฟ- ของ Breadboard)



ภาพรวมการต่อ หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง



เชื่อมต่อสาย Micro USB ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ DevKitC ESP32





เปิด โปรแกรม Arduino IDE ขึ้นมา เขียนโปรแกรม หรือ  Sketch  ตามโค้ดด้านล่างนี้



const unsigned int TRIG_PIN=15;

const unsigned int ECHO_PIN=2;

const unsigned int BAUD_RATE=115200;


void setup() {

  pinMode(TRIG_PIN, OUTPUT);

  pinMode(ECHO_PIN, INPUT);

  Serial.begin(BAUD_RATE);

}


void loop() {

  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);

  delayMicroseconds(2);

  digitalWrite(TRIG_PIN, HIGH);

  delayMicroseconds(10);

  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);

  


 const unsigned long duration= pulseIn(ECHO_PIN, HIGH);

 int distance= duration/29/2;

 if(duration==0){

   Serial.println("Warning: no pulse from sensor");

   } 

  else{

      Serial.print("distance to nearest object:");

      Serial.println(distance);

      Serial.println(" cm");

  }

 delay(100);

 }


ไปที่ Tools -> Board เลือก "ESP32 Dev Module"




ไปที่ Tools -> Port แล้วเลือกพอร์ตที่ปรากฏ (กรณีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี COM Port ให้เลือกตัวอื่นที่ไม่ใช่ COM1)


ในตัวอย่างเลือกเป็น "COM12"
 


ไปที่ Tools -> Upload Speed : เลือกเป็น "115200"
 


กดปุ่ม   เพื่ออัพโหลด



หากสามารถอัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ดได้สำเร็จ จะแสดงคำว่า Done uploading. ที่แถบด้านล่าง


เปิดสวิตช์ไฟ จากรางถ่านเข้าสู่หุ่นยนต์

แล้วไปที่ Tools -> Serial Monitor




เลือก Both NL & CR และ เลือก 115200 baud


Serial Monitor จะแสดง 
ระยะทางที่ห่าง จาก สิ่งกีดขวาง มีหน่วยเป็น cm (เซนติเมตร)

แสดงว่า การเชื่อมต่อ SRF05 ของเรานั้นถูกต้อง และ พร้อมใช้งานแล้ว





ทดลอง ส่งค่า 
ระยะทางที่ห่าง จาก สิ่งกีดขวาง ผ่านทาง Bluetooth ไปยัง สมาร์ทโฟน


โดยอัพโหลด โค้ดด้านล่างนี้ ไปยัง ESP32





#include "SimpleBLE.h"

const unsigned int TRIG_PIN = 15;


const unsigned int ECHO_PIN = 2;


//long x;

int x ;
SimpleBLE ble;
String BLEname = "ESP000";

void setup() {


  pinMode(TRIG_PIN, OUTPUT);

  pinMode(ECHO_PIN, INPUT);
  Serial.begin(115200);
  Serial.setDebugOutput(true);

}

void loop() {

  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);


  delayMicroseconds(2);


  digitalWrite(TRIG_PIN, HIGH);


  delayMicroseconds(10);


  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);


  const unsigned long duration = pulseIn(ECHO_PIN, HIGH);


  int distance = duration / 29 / 2;



  x = (distance);


  Serial.println(x);

  if (x > 100) {
    BLEname = "ESP" + String(x);
  } else {
    if (x > 10) {
      BLEname = "ESP0" + String(x);
    } else {
      BLEname = "ESP00" + String(x);
    }
  }

  Serial.println(BLEname);

  ble.begin(BLEname);
  delay(100);

}



เปิดการเชื่อมต่อ บลูทูธ จะพบ อุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน ในตัวอย่าง เช่น ESP093 รอจนเชื่อมต่อเสร็จ






ดาวน์โหลดแอป Sparks ESP Companion.apk

ไปที่


https://github.com/LiveSparks/ESP32-basic-BLE/tree/master/app





แล้วติดตั้ง ลงใน สมาร์ทโฟน แอนดรอย ของเรา ตามขั้นตอนปรกติ ทั่วไป

เมื่อติดตั้งเสร็จให้เปิดแอปขึ้นมา




คลิกที่ Start Scanning



แอปจะแสดง ค่า ระยะทางที่ห่าง จาก สิ่งกีดขวาง เปลี่ยนค่าไปตามระยะทาง มีหน่วยเป็น cm (เซนติเมตร) แสดงว่า แอป Sparks ESP นั้นพร้อมใช้งานแล้ว






5.เขียนโค้ด
หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง ส่งค่าผ่าน Bluetooth


อัพโหลด โค้ดด้านล่างนี้ ไปยัง ESP32





/*

    Obstacle Robot with DevKitC ESP32.
    For more details visit:
    https://robotsiam.blogspot.com/2017/12/esp32-8-bluetooth.html

*/

#include "SimpleBLE.h"

const unsigned int TRIG_PIN = 15;

const unsigned int ECHO_PIN = 2;

// Motor A pins

int pinA2 = 12;
int pinA1 = 13;


//Motor B pins

int pinB2 = 32;
int pinB1 = 33;

//long x;
int x ;
SimpleBLE ble;
String BLEname = "ESP000";

void setup() {

  pinMode(TRIG_PIN, OUTPUT);
  pinMode(ECHO_PIN, INPUT);
  Serial.begin(115200);
  Serial.setDebugOutput(true);

  pinMode(pinA1, OUTPUT);
  pinMode(pinA2, OUTPUT);
  pinMode(pinB1, OUTPUT);
  pinMode(pinB2, OUTPUT);
}
void loop() {

  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);

  delayMicroseconds(2);

  digitalWrite(TRIG_PIN, HIGH);

  delayMicroseconds(10);

  digitalWrite(TRIG_PIN, LOW);

  const unsigned long duration = pulseIn(ECHO_PIN, HIGH);

  int distance = duration / 29 / 2;


  x = (distance);

  Serial.println(x);
  if (x > 100) {
    BLEname = "ESP" + String(x);
  } else {
    if (x > 10) {
      BLEname = "ESP0" + String(x);
    } else {
      BLEname = "ESP00" + String(x);
    }
  }

  Serial.println(BLEname);
  ble.begin(BLEname);

  if (distance < 20) {

    backward(400);
    coast(200);
    turnLeft(1000);

  }
  else {

    forward(1);

  }

  delay(100);

}

//ฟังก์ชั่นหลักในการควบคุมมอเตอร์



void forward(int time)
{
  motorAForward();
  motorBForward();
  delay(time);
}

void backward(int time)
{
  motorABackward();
  motorBBackward();
  delay(time);
}

void turnLeft(int time)
{
  motorABackward();
  motorBForward();
  delay(time);
}

void turnRight(int time)
{
  motorAForward();
  motorBBackward();
  delay(time);
}

void coast(int time)
{
  motorACoast();
  motorBCoast();
  delay(time);
}

void brake(int time)
{
  motorABrake();
  motorBBrake();
  delay(time);
}


//ฟังก์ชั่นรองในการควบคุมมอเตอร์


//motor A controls
void motorAForward()
{
  digitalWrite(pinA1, HIGH);
  digitalWrite(pinA2, LOW);
}

void motorABackward()
{
  digitalWrite(pinA1, LOW);
  digitalWrite(pinA2, HIGH);
}

//motor B controls
void motorBForward()
{
  digitalWrite(pinB1, HIGH);
  digitalWrite(pinB2, LOW);
}

void motorBBackward()
{
  digitalWrite(pinB1, LOW);
  digitalWrite(pinB2, HIGH);
}

//coasting and braking
void motorACoast()
{
  digitalWrite(pinA1, LOW);
  digitalWrite(pinA2, LOW);
}

void motorABrake()
{
  digitalWrite(pinA1, HIGH);
  digitalWrite(pinA2, HIGH);
}

void motorBCoast()
{
  digitalWrite(pinB1, LOW);
  digitalWrite(pinB2, LOW);
}

void motorBBrake()
{
  digitalWrite(pinB1, HIGH);
  digitalWrite(pinB2, HIGH);
}







วีดีโอผลลัพธ์ 
หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง ส่งค่าผ่าน Bluetooth

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจั...

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: }...

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แ...