ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน Motor Drive Module L298N




การใช้ Arduino UNO R3 กับ L298N ควบคุมมอเตอร์ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็คือ

1. Arduino UNO R3 - Made in italy

2. Motor Drive Module L298N

3. Jumper (M2M) cable wire 40pcs 2.54mm 20cm Male to Male

H-Bridge เป็นโมดูลที่ใช้ในการควบคุมความเร็วและทิศทางของมอเตอร์ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Project อื่นได้อีกด้วย เช่น  ตัวหรี่ไฟในบ้าน หรือที่หรี่ไฟในไฟฉายตีกบ แต่การใช้หลอดใส้ทำให้เราเห็นการกระพริบน้อยมากกว่าใน Led

H-Bridge เป็นวงจรที่สามารถใช้ควบคุมกระแสได้ทั้งขั้วบวกและลบด้วยการควบคุม pulse width modulation (PWM) เป็นการควบคุมแบบ digital ที่มีการนำมาใช้กันมาก โดยส่วนมากเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและ สามารถควบคุม Out Put ได้ โดยมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานน้อยมาก กล่าวคือวงจรพวกนี้จะมีการปล่อยการสูญเสียพลังงานน้อยกว่าวงจรรุ่นเก่าๆ มาก  โดยเฉพาะการควบคุมโวลต์หลอดกระแส out put

PWM(Pulse Width Modulation) คืออะไร

PWM คือเทคนิดการส่งสัญญาณแบบสวิต หรือ ส่งค่าดิจิตอล 0-1 โดยให้สัญญาณความถี่คงที่ การควบคุมระยะเวลาสัญญาณสูงและสัญญาณต่ำ ที่ต่างกัน ก็จะทำให้ค่าแรงดันเฉลี่ยของสัญญาณสวิต ต่างกันด้วย



สำหรับโมดุล PWM ของ Arduino มีความละเอียด 8 bit หรือ ปรับได้ 255 ระดับ ดังนั้นค่าสัญญาณ 0 โวลต์ถึง 5 โวลต์ จะถูกแสดงเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล จะได้ 0 ถึง 255 ซึ่งเราสามารถเทียบสัดส่วนคำนวนจากเลขจริง เป็น เลขทางดิจิตอลได้

ตัวอย่าง

ถ้า 5V = 255
 1.0v จะเท่ากับค่าเท่าไร
    = 255/5.0V*1.0V
    =  51

L298N Dual Full-bridge motor driver module (Red PCB) และการต่อวงจร กับ Arduino UNO R3 (ขา ENA และ ENB ถ้ามี Jumper ต่ออยู่ให้ถอดออก)





ภาพรวมการต่อวงจร

หมายเหตุ : จากการทดลองการต่อวงจร ตามรูปด้านล่าง ทดสอบ กับ  บอร์ด Arduino UNO R3 ต่อกับ คอมพิวเตอร์ ผ่านทางสาย USB มอเตอร์ ทั้ง 2 ตัว สามารถ ทำงานได้ โดยไม่ต้อง ต่อ แบตเตอรี่ 9 V และ เมื่อทดลองถอดสาย USB จากคอมพิวเตอร์ออก แล้ว ป้อนไฟเข้าทางพอร์ต Power Supply ของ บอร์ด Arduino UNO R3 ก็สามารถทำงานได้ตามปรกติเช่นเดียวกัน









โปรแกรมที่จะเขียนต่อไปนี้ แสดงการสั่งให้ Motor A และ Motor B หมุนขึ้นหน้า (Forward) เพื่อทดสอบการต่อวงจร และ เข้าใจคำสั่งในการควบคุม Motor โดย บอร์ด Arduino UNO ขา 2 , 3 , 6  จะควบคุมมอเตอร์ A และ ขา 4 , 5 , 7 จะควบคุมมอเตอร์ B

เปิดโปรแกรม Arduino (IDE)  เขียน โค้ด และ Upload  ไปยังบอร์ด Arduino UNO ดังนี้

// Motor A

int dir1PinA = 2;

int dir2PinA = 3;

int speedPinA = 6; //   เพื่อให้ PWM สามารถควบคุมความเร็วมอเตอร์ 


// Motor B

int dir1PinB = 4;

int dir2PinB = 5;

int speedPinB = 7; // เพื่อให้ PWM สามารถควบคุมความเร็วมอเตอร์


void setup()
{
  Serial.begin(9600);

  //กำหนด ขา เพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของ  Motor ผ่านทาง L298N

  pinMode(dir1PinA,OUTPUT);

  pinMode(dir2PinA,OUTPUT);

  pinMode(speedPinA,OUTPUT);

  pinMode(dir1PinB,OUTPUT);

  pinMode(dir2PinB,OUTPUT);

  pinMode(speedPinB,OUTPUT);
}

void loop()
{

// Motor A

  analogWrite(speedPinA, 255); //ตั้งค่าความเร็ว PWM ผ่านตัวแปร ค่าต่ำลง มอเตอร์จะหมุนช้าลง

  digitalWrite(dir1PinA, LOW);

  digitalWrite(dir2PinA, HIGH);


// Motor B

  analogWrite(speedPinB, 255); //ตั้งค่าความเร็ว PWM ผ่านตัวแปร ค่าต่ำลง มอเตอร์จะหมุนช้าลง

  digitalWrite(dir1PinB, LOW);

  digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
}



ผลการทำงานของโปรแกรม มอเตอร์ ทั้ง A และ B จะหมุนเดินหน้า (Forward) แสดงว่าการต่อวงจร และ การเขียนโปรแกรมของเรานั้นถูกต้อง


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจั...

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: }...

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แ...