ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต่อวงจรไฟกระพริบ LED กับ Arduino UNO R3

การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการ ติด-ดับ ของหลอดไฟ LED ถือเป็นการเขียนโปรแกรมบน Arduino UNO ที่ง่ายที่สุด ทำให้ผู้ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อนก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้การต่อวงจรอิเล็คทรอนิกส์เบื้องต้นไปพร้อมกันด้วย

ในหัวข้อนี้เราจะมาต่อวงจรให้กับ LED เพื่อทำให้มันสว่าง โดยอุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็คือ

     1. บอร์ด Arduino UNO R3
     2. หลอด LED ขนาด 5MM สีเขียว จำนวน 2 ตัว
     3. หลอด LED ขนาด 5MM สีแดง จำนวน 1 ตัว
     4. รีซิสเตอร์ 220 Ohms  จำนวน 3 ตัว
     5. Jumper cable wire 10cm Male to Male (สายเชื่อมต่อ ผู้-ผู้ )
     6. Breadboard Protoboard 400 Tie-points Size 8.5*5.5 cm (โฟโต้บอร์ด)

ต่อวงจรตามรูป


วงจรอิเล็กทรอนิกส์


เริ่มต่อวงจร กับบอร์ด Arduino UNO หลักการในการต่อคือ ต่อให้แรงดันขนาด 5 โวลต์ ให้ไหลผ่านหลอด LED แล้วไหลลงสู่ GND หลอด LED ก็จะสว่างขึ้นมา แต่เราจำเป็นต้องเพิ่มตัวต้านทานขนาด 220 โอห์ม เข้าไปในเส้นทางของวงจรด้วย เพื่อต้านทานกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่าน LED มากเกินไป




การต่อวงจรภายในแผ่นโพโตบอร์ด (Breadboard) จะเป็นดังรูปกล่าวคือ ด้านบนและด้านล่างจะใช้สำหรับต่อไปเลี้ยงวงจรซึ่งวงจรด้านล่างจะต่อถึงกันทั้งแถว ส่วนการต่อวงจรด้านใน จะต่อถึงกันตามแนวตั้งดังภาพ 




และรูปด้านล่างคือรูปของการต่อวงจรด้วยอุปกรณ์ต่างๆบน Breadboard การต่อไม่จำเป็นต้องต่อตามภาพ สามารถจะตอเป็นรูปแบบไหนก็ได้ ขอเพียงให้ถูกต้องตามวงจร ก็จะสามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน




Arduino UNO มีขาที่เป็นแบบดิจิตอลให้เราใช้งานได้เบื้องต้นอยู่  13 ขา ในกรอบสีเหลี่ยมสีแดงตามที่เห็นในรูปด้านล่าง




ขาดิจิตอลของ Arduino สามารถส่งค่าที่เป็นดิจิตอลออกมาได้ โดยสัญญาณดิจิตอลนั้นถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ มีอยู่ 2 รูปแบบคือ  HIGH (มีไฟ) และ LOW (ไม่มีไฟ)

• pinMode(xx, OUTPUT); คือการตั้งค่าให้ให้ขาอะไรเป็นเอาท์พุท เช่น ขา 11 , 12 , 13 เป็นต้น
 

digitalWrite() คือคำสั่งที่ใช้ควบคุมการจ่ายไฟ สำหรับแบบ Digital จะมีอยู่ 2 ค่าคือ HIGH (มีไฟ) และ LOW (ไม่มีไฟ)

delay() คือคำสั่งที่ใช้หน่วงเวลา หรือนับเวลานั่นเองโดยจะมีหน่วยเป็น มิลลิวินาที (1 วินาที = 1000 มิลลิวินาที) 500 จึงเท่ากับ ครึ่งวินาที


เปิดโปรแกรม Arduino (IDE)  เขียน โค้ดดังนี้

void setup() 
{
  pinMode(11, OUTPUT); 
  pinMode(12, OUTPUT);
  pinMode(13, OUTPUT);
}

void loop() 
{
  digitalWrite(11, HIGH);
  delay(500);
  digitalWrite(11, LOW);
  delay(500);

  digitalWrite(12, HIGH);
  delay(500);
  digitalWrite(12, LOW);
  delay(500);

  digitalWrite(13, HIGH);
  delay(500);
  digitalWrite(13, LOW);
  delay(500);
}


เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้เรากด Upload เพื่อตรวจสอบโค้ดโปรแกรมที่เราเขียนว่าถูกต้องหรือไม่พร้อมทั้งส่งโค้ดโปรแกรมที่เราเขียนไปยังบอร์ด Arduino UNO ผ่านทางสาย USB




ถ้าวงจรที่เราต่ออยู่ถูกต้อง จะพบว่าหลอด LED ที่เราต่อนั้นสว่าง และ กระพริบ เรียงกันตามลำดับ (ถ้า LED ไฟไม่ติด .ให้ตรวจสอบการต่อวงจร หรือ ลองกลับขั้ว LED ซึ่งอาจจะต่อผิดอยู่)



และในหัวข้อนี้มาเรียนรู้ตัวแปรภาษา C เพิ่มเติมด้วยครับ

ตัวแปร (Variables)  จะเป็นชื่อที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือปริมาณ ซึ่งสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงจำนวนได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตั้งชื่อตัวแปร จะต้องตั้งชื่อให้แตกต่างไปจากชื่อของตัวแปรอื่นๆ ยกตัวอย่างชื่อของตัวแปร ได้แก่ x, y, peter, num_of_points และ streetnum เป็นต้น โดยปกติการเขียนโปรแกรมที่ดี ควรจะตั้งชื่อตัวแปรให้สอดคล้องกับการทำงานหรือหน้าที่ของตัวแปรนั้นๆ เพราะเมื่อถึงเวลาต้องมาทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม จะสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก

int เป็นชนิดตัวแปรที่สามารถแทนค่าจำนวนเต็มได้ทั้งบวกและลบ

ดังนั้นเราจะลองใช้ ตัวแปร int แทนขาดิจิตอลต่างๆ ของ บอร์ด Arduino UNO เช่น

int LED1 = 13; 

 int คือประกาศตัวแปรเป็นชนิดจำนวนเต็ม และให้ชื่อตัวแปรว่า LED1 และกำหนดค่าให้เป็น 13 ด้วย


จากนั้น นำโค้ดเดิมด้านบนมาแก้ไขโค้ดดังนี้

int LED1 = 13;  //เพิ่มเข้ามา เพื่อ ประกาศตัวแปร ให้ LED1 แทนด้วยตัวเลข 13
int LED2 = 12; //เพิ่มเข้ามา เพื่อ ประกาศตัวแปร ให้ LED2 แทนด้วยตัวเลข 12
int LED3 = 11; //เพิ่มเข้ามา เพื่อ ประกาศตัวแปร ให้ LED3 แทนด้วยตัวเลข 11

void setup()

{
  pinMode(LED3, OUTPUT);  //เปลี่ยนเลข 11 เป็น LED3
  pinMode(LED2, OUTPUT);  //เปลี่ยนเลข 12 เป็น LED2
  pinMode(LED1, OUTPUT);  //เปลี่ยนเลข 13 เป็น LED1
}

void loop()

{
  digitalWrite(LED3, HIGH);  //เปลี่ยนเลข 11 เป็น LED3
  delay(500);
  digitalWrite(LED3, LOW);  //เปลี่ยนเลข 11 เป็น LED3
  delay(500);

  digitalWrite(LED2, HIGH);   //เปลี่ยนเลข 12 เป็น LED2

  delay(500);
  digitalWrite(LED2, LOW);   //เปลี่ยนเลข 12 เป็น LED2
  delay(500);

  digitalWrite(LED1, HIGH);   //เปลี่ยนเลข 13 เป็น LED1

  delay(500);
  digitalWrite(LED1, LOW);   //เปลี่ยนเลข 13 เป็น LED1
  delay(500);
}

// (เครื่องหมายทับสองอัน) สิ่งที่พิมพ์ตามมาในบรรทัดนั้น จะไม่ถูกนำมาแปลภาษาเพื่ออัพโหลดให้กับบอร์ด จึงใช้เขียนอธิบายการทำงาน หรือ บันทึกช่วยจำ ต่างๆเป็นต้น

Upload โปรแกรมลงบอร์ด Arduino UNO อีกครั้ง


ก็จะเห็นการทำงานของวงจร ติด-ดับของหลอดไฟ LED ทำงานเหมือนกับโปรแกรมแรก

แต่.. ข้อดีของการเขียนโปรแกรม แบบมีตัวแปร คือ เมื่อเราต้องการแก้ไขการต่อวงจรของเรา เช่น  ต้องการแก้ไข วงจร จาก ขาดิจิตอล จาก ขา 13 เป็น ขา 5  เมื่อเราย้ายสาย การต่อวงจรเรียบร้อยแล้ว เราก็เพียงไป แก้ไข ค่าตัวแปร

int LED1 = 13;

เป็น

int LED1 = 5;

ซึ่งเป็นการแก้ไขเพียงจุดเดียว โปรแกรมก็จะทำงานตามความต้องการของเรา ต่างจากการเขียนแบบแรก ซึงต้องไปแก้ทุกจุดที่ เป็น ขา 13 และ ยังลดความผิดพลาดในการแก้ไขโปรแกรมไม่ครบทุกจุดอีกด้วย


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ O

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: } void loop() {   // put your main

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แล้ว คลิก