ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โปรแกรมแรก Hello World กับ Arduino UNO R3

Hello World กับ Arduino UNO R3 อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็คือ บอร์ด Arduino UNO R3


1. เชื่อมต่อ บอร์ด Arduino UNO R3 เข้ากับคอมพิวเตอร์


บอร์ด Arduino UNO R3 ที่เรากำลังใช้อยู่นั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกได้นะครับ และการทดลองติดต่อสื่อสารที่ทำได้ง่ายและเห็นภาพที่สุดคือการสั่งงานให้ Arduino UNO R3 สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ของเรา ผ่านทางพอร์ทอนุกรม (Serial Port) โดยการให้มันส่งข้อความอะไรบางอย่างมาที่คอมของเรากัน สำหรับหัวของนี้ยังไม่มีการต่อวงจรเพิ่มเติมครับเพียงแค่มีสาย USB กับบอร์ด Arduino UNO R3 ก็เริ่มทดลองกันได้เลย คำสั่งแรกที่ต้องใช้ในการเริ่มต้นสื่อสารคือ การกำหนดความเร็วในการสื่อสาร ด้วยคำสั่ง

Serial.begin(9600);

 โดยตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บคือค่าความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ค่ามาตรฐาน คือ 9600 ครับ และคำสั่งสำหรับสั่งให้ บอร์ดส่งข้อความมาที่คอมพิวเตอร์ของเรา คือ

Serial.println("Hello World"); 2. เปิดโปรแกรม Arduino (IDE) แล้วจะพบกับหน้าต่างของ IDE ดังรูป



3. มาเริ่มเขียนโปรแกรมแรกของเรา โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้คือ ภาษา C ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมใช้กัน อันดับต้นๆ และสามารถเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ถ้าใครเคยเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C มาบ้างแล้วอาจจะได้เปรียบหน่อย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยเขียนภาษา C ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเราจะเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกัน

    3.1 ส่วนประกอปของโปรแกรม หรือ ที่เรียกว่า Sketch มี 2 ส่วน คือ  ฟังก์ชั่น setup และ  ฟังก์ชั่น loop สามารถอธิบายรูปแบบการทำงานของโปรแกรมได้ดังนี้

 เมื่อเริ่มต้นทำงาน Arduino จะทำตามคำสั่งต่างๆที่อยู่ในฟังก์ชัน “setup” เป็นจำนวน 1 รอบ โดยคำสั่งต่างๆที่จะเขียนในฟังก์ชันนี้ ส่วนมากจะเป็นการกำหนดค่าเริ่มต้น การกำหนดหน้าที่ของแต่ละขา หรือคำสั่งต่างๆที่ต้องการเรียกใช้เพียงแค่ครั้งแรกครั้งเดียว หลังจากที่จบฟังก์ชัน “setup” จะไม่มีการย้อนกลับมาทำคำสั่งในนี้อีก ส่วนฟังก์ชัน loop จะทำงานต่อจาก setup โดยใน loop นี้จะเป็นการทำตามคำสั่งแบบวนซ้ำ คือ ทำงานตามคำสั่งบรรทัดแรกไปเรื่อยๆจนถึงบรรทัดสุดท้าย แล้ว วน กลับมาเริ่มทำที่บรรทัดแรกใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

//ฟังก์ชัน ส่วนที่1
void setup() 
{
   //ส่วนนี้จะทำงานครั้งแรก เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เป็นส่วนคำสั่งหรือสเตตเมนต์ (Statement) จะเป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมเรื่มต้นในการทำงาน ในการตั้งค่า กำหนดค่า ต่างๆ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด { และจบด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด } ทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่น setup ซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชั่นหลักที่โปรแกรมจะทำงานได้
}

//
ฟังก์ชัน ส่วนที่2
void loop() 
{
   //ส่วนนี้จะทำงานซ้ำ วนลูป ไปเรื่อยๆ ส่วนคำสั่งหรือสเตตเมนต์ (Statement) จะเป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน การตัดสินใจ ต่างๆ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด { และจบด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด } ส่วนนี้จะมีมากกว่าหนึ่งฟังก์ชั่นก็ได้ แต่ทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่น loop ซึ่งก็ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นหลักที่โปรแกรมจะทำงานได้
}

เริ่มเขียนโปรแกรม หรือ  Sketch  ตามโค้ดด้านล่างนี้

void setup() 
{
   Serial.begin(9600);
}

void loop() 
{
   Serial.println("Hello World");
}





4. ไปที่ Tools -> Board  แล้วเลือกให้ตรงกับบอร์ดที่ใช้งาน สำหรับ Arduino UNO R3 ให้เลือกบอร์ด Arduino/Genuino UNO





ตรวสอบ Port ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยไปที่ Tools -> Port 





5. จากนั้นคอมไฟล์โปรแกรมโดยไปที่ Sketch -> Verify / Compile 




หรือ คลิกที่ ไอคอน เครื่องหมายถูก


ตั้งชื่อ ที่ต้องการ  เช่น Hello World  แล้ว Save โปรแกรมจะตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม ถ้ามีความผิดพลาด ในการเขียนโปรแกรม Arduino (IDE) จะแจ้งให้เตือนให้ทราบด้านล่าง เพื่อให้เราปรับปรุงแก้ไขต่อไป แต่ถ้าไม่มีความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม  เมื่อคอมไฟล์เรียบร้อย จะเห็นคำว่า “Done compiling” ที่ด้านล่างของ IDE  ปรากฎดังรูป





6. อัพโหลดโปรแกรมเข้าสู่ บอร์ด Arduino UNO R3 โดยไปที่ Sketch -> Upload




หรือ คลิกที่ ไอคอน เครื่องหมายตรงไปด้านขวา  ตามรูปด้านล่าง




หมายเหตุ : ในกรณีที่ Upload แล้วมี Error ขึ้นมาด้านล่าง





ให้ตรวจสอบ Tools -> Port ที่เราต่อ กับ ที่เราตั้งค่าไว้ ถูกต้อง หรือ ไม่ เมื่อแก้ไข แล้ว Upload ใหม่ อีกครั้ง




ถ้า Windows จะหาไดร์เวอร์แต่จะไม่พบให้ทำตามขั้นตอน ลิงค์ด้านล่าง

การติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) และ การติดตั้งไดร์เวอร์



ถ้าไม่มีความผิดพลาด Arduino (IDE) จะ Upload โปรแกรมที่เราเขียน เข้าสู่ บอร์ด Arduino UNO R3




7. จากนั้นเปิด Serial Monitor ของ Arduino IDE โดยไปที่  Tools -> Serial Monitor

 



8. เมื่อเปิด Serial Monitor 
และ เลือก 9600 baud จะได้ข้อความดังรูป





ก็จะได้ โปรแกรม Hello World กับ Arduino UNO R3 โปรแกรมแรกของคุณ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจั...

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: }...

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แ...