ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โปรเจครถบังคับ ขับเคลื่อน 2 ล้อ Arduino กับ แอพแอนดรอยด์



เราจะเอาสิ่งที่เราเรียนรู้ Arduino จากที่่ผ่านๆมา  มาประกอบเป็นรถบังคับ ควบคุมด้วย สมาร์ทโฟน แอนดรอยด์ ผ่านทาง Bluetooth HC-05 กันนะครับ

โปรเจครถบังคับ ขับเคลื่อน 2 ล้อ Arduino กับ แอพแอนดรอยด์ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็คือ

     1. 2WD Smart Car Robot Chassis Kits

     2. Arduino UNO R3 - Made in italy

     3. Motor Drive Module L298N

     4. HC-05 Bluetooth Master Slave

     5. สาย Jumper Female to Male ยาว 20cm.

     6. สาย Jumper Male to  Male ยาว 20cm.

     7. รางถ่านแบบ 18650 ใส่ถ่าน 3 ก้อน

     8. แบตเตอรี่ลิเธียม 18650 จำนวน 3 ก้อน

     9. เสารองแผ่นพีซีบีโลหะแบบเหลี่ยม 6 mm

    10. สายไฟแดงดำ ขนาด 22AWG

เริ่มต้นด้วยการ ประกอบ Smart Robot Car Chassis Kit 






 แนะนำให้ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม 18650 (ขนาดใหญ่กว่า แบตเตอรี่ ขนาด AA ปรกติ) แรงดันไฟเฉลี่ย 3.7V  (3400 mAh)  จำนวน 3 ก้อน ได้ไฟรวมประมาณ 11.1 โวลต์  และ ก็ต้องเปลี่ยน รางถ่าน เป็นแบบ 18650 ใส่ถ่านได้ 3 ก้อน แบบวงจรอนุกรม ด้วย

รุูจัก : Li-ion (ลิเธี่ยมไอออน) และ Li-Mn (ลิเธี่ยมแมงกานีส หรือเรียกอีกอย่างว่า High Drain) ขนาดของตัวจะมาเป็นรหัสครับเช่น 18650 ข้อดี คือ สามารถชาร์จได้ แต่ ไม่ควรใช้จนไฟหมดหรือแรงดันต่ำกว่าที่กำหนดเอาไว้เพราะจะทำให้เซลล์แบตฯ เสียหายไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก


V คือ Volt (โวลต์)  
เป็นค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า คล้ายๆแรงดันไฟ นึกภาพถึง แรงดันน้ำ แรงดันลม ความดันเลือด (เป็นแรงดันไฟ หรือ แรงดันไฟฟ้า)

mAh คือ m = มิลลิ , A = แอมป์ , h = ชั่วโมง หมายถึง ถ่านก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสได้ กี่มิลิแอมป์ ใน 1 ชั่วโมง (เป็นความจุไฟ หรือ กระแสไฟฟ้า)


เริ่มด้วย ต่อวงจร Arduino  UNO กับ L298N  Motor Driver ตามรูปการต่อวงวงจร

นำไฟจากแบตเตอรี่ลิเธียม 18650 ไปต่อตรงกับ L298N  Motor Driver (ไม่ต่อกับ พอร์ต Power Supply ของ บอร์ด Arduino  UNO R3 ) และ นำไฟ 5 โวลต์ ที่ออกจาก L298N  Motor Driver ต่อออกไปเลี้ยง บอร์ด Arduino  UNO R3 ตามรูปการต่อวงวงจร






*** VCC ของ Arduino UNO R3 คือ 5V ***



เรียนรู้เพิ่มเติมตามลิงค์นี้  http://robotsiam.blogspot.com/2016/08/l298n-motor-driver-connect-arduino-r3.html


ต่อวงจร Arduino  UNO กับ HC-05 Bluetooth ตามรูปการต่อวงวงจร

*** ถ้า HC-05 ไม่ทำงาน ให้ ทดลอง กดที่ปุ่ม BUTTON SWITCH ของ HC-05 ***





เรียนรู้เพิ่มเติมตามลิงค์นี้  http://robotsiam.blogspot.com/2016/08/hc-05-bluetooth-module.html


เปิดโปรแกรม Arduino (IDE)  เขียน โค้ด และ Upload  ไปยังบอร์ด Arduino UNO ดังนี้



#include <SoftwareSerial.h>
SoftwareSerial BTSerial(9, 10);

int dir1PinA = 2;
int dir2PinA = 3;
int speedPinA = 6;
int dir1PinB = 4;
int dir2PinB = 5;
int speedPinB = 7;

void setup() 
{   

  Serial.begin(9600);
  pinMode(dir1PinA,OUTPUT);
  pinMode(dir2PinA,OUTPUT);
  pinMode(speedPinA,OUTPUT);
  pinMode(dir1PinB,OUTPUT);
  pinMode(dir2PinB,OUTPUT);
  pinMode(speedPinB,OUTPUT);
  pinMode(8,OUTPUT);
  digitalWrite(8, HIGH);
  Serial.begin(9600);
  BTSerial.begin(9600); 
}


void loop() 
{  
  if (BTSerial.available())
    Serial.write(BTSerial.read());

  if (Serial.available())
    BTSerial.write(Serial.read());

  if (BTSerial.available() > 0) {

    int inByte = BTSerial.read();
    int speed;
    switch (inByte) {

    case 'F':

      analogWrite(speedPinA, 255);
      analogWrite(speedPinB, 255);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir1PinB, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinB, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Forward");
      Serial.println("Motor 2 Forward");
      Serial.println("   "); 

      break;



    case 'S': 

      analogWrite(speedPinA, 0);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      Serial.println("Motor 1 Stop");
      analogWrite(speedPinB, 0);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Stop");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'B':

      analogWrite(speedPinA, 255);
      digitalWrite(dir1PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Back");
      analogWrite(speedPinB, 255);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Back");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'L':

      analogWrite(speedPinA, 0);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      Serial.println("Motor 1 Left");
      analogWrite(speedPinB, 255);
      digitalWrite(dir1PinB, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinB, LOW);
      Serial.println("Motor 2 Left");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'R':

      analogWrite(speedPinA, 255);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      Serial.println("Motor 1 Right");
      analogWrite(speedPinB, 0);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Right");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'I':

      analogWrite(speedPinA, 150);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      Serial.println("Motor 1 Forward L");
      analogWrite(speedPinB, 255);
      digitalWrite(dir1PinB, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinB, LOW);
      Serial.println("Motor 2 Forward L");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'G':

      analogWrite(speedPinA, 255);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      Serial.println("Motor 1 Forward R");
      analogWrite(speedPinB, 150);
      digitalWrite(dir1PinB, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinB, LOW);
      Serial.println("Motor 2 Forward R");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'J':

      analogWrite(speedPinA, 200);
      digitalWrite(dir1PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Back L");
      analogWrite(speedPinB, 255);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Back L");
      Serial.println("   ");

      break;

    case 'H':

      analogWrite(speedPinA, 255);
      digitalWrite(dir1PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Back R");
      analogWrite(speedPinB, 200);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Back R");
      Serial.println("   ");

      break;


    default:



      for (int thisPin = 2; thisPin < 11; thisPin++) 

      {

        digitalWrite(thisPin, LOW);

      }

    }

  }

}


เพิ่มเติมการเรียนรู้ ภาษา C

นอกจากการใช้คำสั่ง if เพื่อกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้โปรแกรมเลือกที่จะทำงานสายงานใดแล้ว ในภาษา C ยังมีคำสั่ง switch อีกคำสั่งหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เขียนโปรแกรม ในการที่นำมาใช้แทนคำสั่ง if ที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น โดยที่คำสั่ง switch จะนำค่าของตัวแปรที่อยู่หลังคำสั่ง switch มาเปรียบเทียบกับค่าที่อยู่หลัง case แต่ละคำสั่ง ถ้าตรงกัน ก็จะทำสายงานที่อยู่ใน case นั้น ๆ แต่ถ้าไม่ตรงกับ case ใด ๆ เลย จะทำหลังคำสั่ง default โดยมีรูปแบบประโยคคำสั่งดังนี้


ประโยค switch หนึ่งประโยคจะมีกี่ case ก็ได้ หรือไม่มีเลยก็ได้ และอาจมี default เป็นตัวเลือกเสริม

 ประโยคคำสั่ง break 

 เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหลุดออกจากเงื่อนไข โดยไม่ต้องทำงานจนจบบล๊อกของคำสั่ง
ตัวอย่างตามโค้ดด้านบน เช่น


 switch (inByte) {

    case 'F':

      analogWrite(speedPinA, 500);
      analogWrite(speedPinB, 500);
      digitalWrite(dir1PinA, LOW);
      digitalWrite(dir1PinB, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinB, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Forward");
      Serial.println("Motor 2 Forward");
      Serial.println("   "); 

      break;

  case 'H':

      analogWrite(speedPinA, 500);
      digitalWrite(dir1PinA, HIGH);
      digitalWrite(dir2PinA, LOW);
      Serial.println("Motor 1 Back R");
      analogWrite(speedPinB, 200);
      digitalWrite(dir1PinB, LOW);
      digitalWrite(dir2PinB, HIGH);
      Serial.println("Motor 2 Back R");
      Serial.println("   ");

      break;


    default:

 การนำคำสั่ง break มาซ้อนไว้ใน case ต่าง ๆ ของคำสั่ง switch จะช่วยให้โปรแกรมไม่ล่วงล้ำเข้าไปทำใน case ที่อยู่ถัดไป แต่ถ้าไม่มีประโยคคำสั่ง break เมื่อทำ case ใด ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คอมไพล์เลอร์ก็จะให้ไปทำใน case ที่อยู่ถัดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบบล๊อกของประโยคคำสั่ง switch จากนั้นจะทำงานต่อไป ในประโยคคำสั่งที่อยู่ถัดไป



จากนั้น ทดลองนำ โทรศัพท์มือถือ แอนดรอยด์  เปิด บลูทูธ  แล้ว ดาวน์โหลดและติดตั้ง โปรแกรม Arduino Bluetooth RC Car ดังนี้





สังเกตุ เมื่อเปิดขึ้นมา รูปวงกลมซ้ายมือ จะเป็นสีแดง



คลิกที่ ไอคอนเฟือง ขวามือสุด แล้ว เลือก Connect to car




เลือก HC-05 (ถ้าถามหา พาสเวิร์ด ให้คีย์ 1234)




สังเกตุ รูปวงกลมซ้ายมือเป็นสีเขียวแสดงว่า โปรแกรมสามารถใช้งานได้แล้ว ทดลองควบคุมดูเลยครับ




วีดีโอผลลัพธ์การทำงานของ โปรเจครถบังคับ ขับเคลื่อน 2 ล้อ Arduino กับ แอพแอนดรอยด์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ O

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: } void loop() {   // put your main

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แล้ว คลิก