ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสั่งงานด้วยเสียงพูด Arduino + โมดูลควบคุมด้วยเสียง





เราจะเรียนรู้วิธีการพูดคุยกับ Arduino โดยเราจะใช้โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module ซึ่งสามารถใช้โมดูลนี้เพื่อควบคุมไฟ LED และ หุ่นยนต์ โดยการทดสอบการใช้งานนี้ เราจะใช้ LED ในการแสดงผล

และ เราจะใช้ซอฟต์แวร์ Access Port เพื่อบันทึกคำสั่งเสียงของเรา เพื่อส่งคำสั่ง HEX จาก Windows ผ่านทาง USB ไปยังโมดูล Speech Recognition Module



Wiki: http://www.geeetech.com/wiki/index.php/Arduino_Voice_Recognition_Module

----------

อุปกรณ์ที่ใช้:


1. โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module

2. CP2102 USB 2.0 to UART TTL 5PIN Connector Module

3. หลอดไฟ LED 5mm

4. Breadboard 8.5CM x 5.5CM

5. Jumper (M2M) 20cm Male to Male

6. Jumper (F2M) 20cm Female to Male

7. Arduino UNO R3


ซอฟต์แวร์: AccessPort - RS232 Monitor /  RS232 Terminal

สำหรับผู้ใช้ Windows

http://www.sudt.com/en/ap/

----------


โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module

Speech Recognition Module สามารถจดจำคำสั่งเสียงได้มากถึง 15 เสียงและเหมาะสำหรับคำสั่งส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมด้วยเสียง



ได้รับการกำหนด คำสั่ง ผ่าน พอร์ตอนุกรม ด้วยโมดูลนี้เราสามารถควบคุมหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้ด้วยเสียง


สามารถจัดเก็บคำสั่งเสียงได้ 15 เสียง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 5 เสียง


คุณสมบัติ:

แรงดันไฟฟ้า: 4.5-5.5V
กระแสน้อยกว่า 40mA
Digital Interface: 5V TTL level UART interface



USB To TTL / COM Converter Module



คุณสมบัติ:

Built-in USB to RS232 Transfer chip
Designed to be used for USB to TTL electronic projects
TTL interface output, easy to connect to your MCU
Status LED.
Dual 3.3V and 5V Power output, work with 3.3v and 5v target devicev

----------


การเชื่อมต่อ ระหว่าง Speech Module กับ USB Module


TXD <-> RXD

RXD <-> TXD

GND <-> GND

VCC <-> +5V




จากนั้นต่อสายไมโครโฟนของโมดูลเสียงและเชื่อมต่อโมดูล USB เข้ากับคอมพิวเตอร์



----------

ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์สำหรับบันทึกคำสั่งเสียง

เราจะใช้ซอฟต์แวร์ Access Port เพื่อส่งคำสั่ง HEX จาก Windows ผ่าน USB ไปยังโมดูลเสียง

ลิงก์ดาวน์โหลดของซอฟต์แวร์

http://www.sudt.com/en/ap/

----------

การใช้ซอฟต์แวร์ Access Port สำหรับบันทึกเสียง


อันดับแรกเราต้องหาพอร์ตที่ต่อโมดูล USB ( ในตัวอย่างเป็น COM12 ) ใน คอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องจะแสดงไม่เหมือนกันให้ตรวจสอบเพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป


เปิด ซอฟต์แวร์ Access Port



จากนั้นเราจะไปที่การตั้งค่าโปรแกรม  Tools -> Configuration



และเลือก Port : เป็น COM12 (พอร์ตที่ต่อโมดูล USB) และ Baud Rate: เป็น 9600




เลือกประเภทคำสั่งที่จะส่ง โดยให้เลือก เลือก Hex Format -> OK




เขียนคำสั่ง AA 36 แล้ว กดปุ่ม Send


 เพื่อเริ่มต้น "โหมดทั่วไป" 


เปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล Operation -> Display Format



รูปแบบการแสดงผลที่ต้องการ




จากนั้น กดปุ่ม Clear



*** ก่อนเริ่มการบันทึกเสียง ให้ลบข้อมูลเก่า ที่บันทึกแล้วใน Group1 โดยใช้คำสั่ง AA 01 -> Send ***



แล้วจึงเริ่มต้น โหมดการบันทึก ด้วยการส่งคำสั่ง AA 11 -> Send


เมื่อเราเห็นข้อความ START เราจะเริ่มพูดคำสั่งที่เราต้องการ 3 ครั้ง



START 

คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 1

AGAIN

คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 2

START

คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 3

Finish one (เมื่อคำสั่งถูกต้องจะขึ้น  Finish one คำสั่งเสียง1 จะถูกบันทึกไว้)

หากคำสั่งที่เรากล่าวว่าไม่ตรงกันซอฟต์แวร์จะแจ้ง Different เตือนเรา!

START

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 1

AGAIN

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 2

START

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 3

Finish one (เมื่อคำสั่งถูกต้องจะขึ้น  Finish one คำสั่งเสียง2 จะถูกบันทึกไว้)

ทำเพิ่มจนครบ 5 คำสั่งเสียง (สามารถเลือก 5 คำสั่งเสียงที่ต้องการ)

ในตัวอย่างจะเป็น 1.หน้า 2.หลัง 3.ซ้าย 4.ขวา 5.หยุด

......

เมื่อทำครบ 5 คำสั่งเสียง จะแสดง Group1 Finish!

ขณะนี้เรามี 5 คำสั่งเสียงสำหรับ Group1 เราต้องการนำเข้าไปในโมดูล


ให้ทำการบันทึกโดย  กดปุ่ม Clear


แล้วเขียนคำสั่ง AA 21 -> Send  มิฉะนั้นคำสั่งจะไม่ถูกเก็บไว้ในโมดูล



เมื่อบันทึกสำเร็จ จะชึ้น Group1 Imported!

แสดงว่า Speech Recognition Module พร้อมใช้งานในขั้นตอนต่อไป


*** ถ้าต้องการลบข้อมูล ที่บันทึกแล้วใน Group1 ให้ใช้คำสั่ง AA 01 -> Send ***
----------


การเชื่อมต่อ ระหว่าง Speech Module กับ Arduino UNO


GND <-> GND

VCC <->  5V

TXD <->  RX

RXD <->  TX

----------

การเชื่อมต่อของ LED




ต่อ LED ตัวที่1 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D5 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard

ต่อ LED ตัวที่2 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D6 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่3 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D7 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่4 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D8 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่5 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D9 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard




----------


การอัปโหลดซอร์สโค้ด

อย่าลืมถอดสาย TX และ RX ออกจาก Speech Module เมื่อต้องการจะอัพโหลดซอร์สโค้ด หลังจากอัปโหลดโค้ดแล้วให้เชื่อมต่อ TX และ RX เข้ากับบอร์ดดังเดิม


byte com = 0;


void setup() {

  pinMode(5, OUTPUT);
  pinMode(6, OUTPUT);
  pinMode(7, OUTPUT);
  pinMode(8, OUTPUT);
  pinMode(9, OUTPUT);

  Serial.begin(9600);

  Serial.write(0xAA);

  Serial.write(0x37);

  delay(1000);

  Serial.write(0xAA);

  Serial.write(0x21);


}

void loop() {


  while (Serial.available()) {

    com = Serial.read();

    switch (com) {

      case 0x11:   //command 1 is for LED 1

        digitalWrite(5, HIGH);

        break;

      case 0x12:  //command 2 is for LED 2

        digitalWrite(6, HIGH);

        break;

      case 0x13:  //command 3 is for LED 3

        digitalWrite(7, HIGH);

        break;

      case 0x14:  //command 4 is for LED 4

        digitalWrite(8, HIGH);

        break;

      case 0x15:  //command 5 is for LED 5

        digitalWrite(9, HIGH);

        break;

    }
  }
}


วีดีโอผลลัพธ์ การสั่งงานด้วยเสียงพูด Arduino + โมดูลควบคุมด้วยเสียง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งาน IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module

โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง   IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โมดูลเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง    IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor Module โดยโมดูลนี้ จะมีตัวรับและตัวส่ง infrared ในตัว ตัวสัญญาณ(สีขาว) infrared จะส่งสัญญาณออกมา และเมื่อมีวัตถุมาบัง คลื่นสัญญาณ infrared  ที่ถูกสั่งออกมาจะสะท้องกลับไปเข้าตัวรับสัญญาณ (สีดำ) สามารถนำมาใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้ และสามารถปรับความไว ระยะการตรวจจับ ใกล้หรือไกลได้ ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และ ตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่ง เหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และ ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงาน หรือ ระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ O

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor DHT11 , DHT21 , DHT22

การติดตั้ง Library ของ DHT Sensor ไลบรารี DHT ใช้สำหรับในการให้เซ็นเซอร์ DHT  อ่านอุณหภูมิและความชื้นด้วย  Arduino หรือ ESP8266 ได้ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไลบรารี ของเซ็นเซอร์ DHT https://github.com/adafruit/DHT-sensor-library เปิดโปรแกรม Arduino IDE  ไปที่ Skecth -> Include Library -> Add .ZIP Library... ไปที่ ไลบรารี DHT-sensor-library ที่เรา ดาวน์โหลด มา ตรวจสอบที่ Skecth -> Include Library  จะพบ ไลบรารี DHT sensor library เพิ่มเข้ามาใน Arduino IDE ของเรา ไปที่ Skecth -> Include Library -> Manage Libraries... ไปที่ช่องค้นหา พิมพ์ DHT -> Enter (เพื่อค้นหา DHT sensor library ) เมื่อพบ DHT sensor library แล้ว ให้คลิก More info คลิกที่ Select Vers.. ในตัวอย่าง เลือก Version 1.2.3 คลิก Install คลิก Close เพิ่ม #include <DHT.h> ไปที่ส่วนบนสุดของโค้ด #include <DHT.h> void setup() {   // put your setup code here, to run once: } void loop() {   // put your main

ESP32 #2: การติดตั้ง Arduino core for ESP32 WiFi chip

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการติดตั้งชุดพัฒนา Arduino core for ESP32 WiFi chip และ การตรวจสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่ “Arduino” แต่เดิมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ด Arudino เท่านั้น แต่ภายหลังกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรม Arduino IDE ได้เริ่มรองรับการติดตั้งชุดพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้กับบอร์ดอื่น ๆ ด้วย ทำให้บอร์ดอื่น ๆ ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สามารถเข้ามาใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการพัฒนาได้ นอกจากข้อดีของโปรแกรม Arduino IDE แล้ว ชุดไลบารี่ต่าง ๆ ที่ทำมารองรับกับแพลตฟอร์ม Arduino ก็จะสามารถนำมาใช้งานกับบอร์ดอื่น ๆ ได้ด้วย การจะใช้ Arduino core for ESP32 กับ Arduino IDE ได้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. ติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) ลิงค์ดาวโหลด Arduino (IDE)  https://www.arduino.cc/en/Main/Software 2. ติดตั้ง แพลตฟอร์ม ESP32 ในการเริ่มต้นเราจะต้องอัปเดตผู้จัดการบอร์ดด้วย URL ที่กำหนดเอง เปิด Arduino IDE และไปที่ File > Preferences คัดลอก URL ด้านล่างลงใน Additional Board Manager URLs: แล้ว คลิก